แนวคิด
ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสารที่ครอบคลุมไปทั่วโลก โดยได้เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกไว้ด้วยกัน ผ่านวิธีการติดต่อสื่อสารที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน กลายเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานในปัจจุบัน นอกจากนี้ควรจะศึกษาถึงความเป็นมาของระบบอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้น ซึ่งได้แพร่หลายอยู่ในโลกของการสื่อสารยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ควรจะศึกษาถึงความเป็นมาของระบบอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้น ซึ่งได้แพร่หลายอยู่ในโลกของการสื่อสารยุคปัจจุบัน นอกจากประโยชน์ที่ได้รับอย่างมากมายจากการใช้บริการรูปแบบต่างๆ ของอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังต้องคำนึงถึงโทษที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตอีกด้วย
สาระการเรียนรู้
1.การปรับแต่คอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต
2.การติดต่อโปรแกรมเชื่อมต่อแบบ Dial – UP Connection
3.การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ผลการเรียนที่คาดหวัง
1.บอกคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
2.บอกหน้าที่และประเภทของโมเด็มได้
3.บอกคุณสมบัติของโปรแกรมต่างๆ ที่มีความสำคัญในการใช้งานอินเทอร์เน็ต
4.บอกวิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแต่ละประเภทได้
5.บอกถึงความสำคัญและการตัดสินใจเลือกใช้ผู้บริการอินเตอร์เน็ตได้
6.อธิบายวิธีการเชื่อมต่อเพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต
7.อธิบายการยกเลิกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
การปรับแต่งคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต
สำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อใช้งานภายในบ้าน จำเป็นจะต้องมีส่วนประกอบสำคัญที่สามารถเชื่อมต่อระหว่าผู้ใช้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เพราะการใช้งานอินเทอรืเน็ตนั้น จะต้องเกิดจากการเชื่อมต่อของทั้งสองฝั่นก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้ ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
1.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
2.โมเด็ม (Modem)
3.โปรแกรมสำหรับใช้งานอินเทอร์เน็ต
4.วิธีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
5.การเลือกผู้ให้อินเตอร์เน็ต (ISP)
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
1. เมนบอร์ด (Mainboard) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควรมีประสิทธิภาพสูงพอสมควรในปัจจุบันคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป จะมีซีพียูรุ่น Celeron, Pentium IV และ AMD ซึ่งซีพียูเหล่านี้จะสนับสนุนการใช้งานเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และซีพียูเหล่านี้จะรับรองการใช้งานระบบ มัลติมีเดียด้วย ไม่ว่าจะเป็นการ์ดจอ การ์ดเสียง และลำโพง เพราะการท่องเว็บนั้นจะมีทั้งภาพเคลื่อนไหว และเสียง จึงจำเป็นต้องมีระบบรองรับการใช้งาน เพื่อให้สามารถท่องเว็บได้อย่างสมบูรณ์ และทำให้น่าสนใจมากขึ้น
2. หน่วยความจำแรม (RAM) การเลือกหน่วยความจำแรมจะขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ใช้ แต่อย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 64-128 MB แต่ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้คือ Windows XP หน่วยความจำแรมไม่ควรต่ำกว่า 256 MB เพราะโปรแกรมที่ใช้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตจะต้องใช้หน่วยความจำมากพอสมควร
3. จอภาพและการ์ดแสดงผล จอภาพสามารถแสดงผลได้ตั้งแต่ 256 สีขึ้นไป ความละเอียดไม่ควรต่ำกว่า 800x600 pixels ซึ่งปัจจุบันจอภาพจะสามารถแสดงได้ถึง 16 ล้านสีแล้ว ทำให้สามารถแสดงภาพได้ดีโดยเฉพาะภาพถ่าย
4. ระบบมัลติมีเดีย คือการ์ดเสียงพร้อมลำโพง หรือถ้าใช้โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตก็จะต้องมีไมโครโฟนด้วย และถ้าต้องการพูดคุยแบบให้เห็นหน้าทั้งสองฝ่ายก็ต้องมีกล้องวิดีโอที่มีความละเอียดต่ำ หรือที่เรียกว่า “เว็บแคม” (Webcam) ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกรุ่นจะมีให้เฉพาะการ์ดเสียง และลำโพงเท่านั้น อุปกรณ์เสริมอื่นๆ คือ ไมโครโฟน และกล้องเว็บแคม ผู้ใช้จะต้องหาเพิ่มเติมเองเมื่อต้องการใช้งาน
โมเด็ม
โมเด็ม หรือ Modem (Modulator/Demodulator) มีหน้าที่แปลงข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล (Digital) ของระบบคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณเสียงในรูปแบบแอนะล็อก (Analog) เพื่อให้สามารถส่งไปทางสายโทรศัพท์ได้ เรียกว่า การ Modulate โดนที่ปลายทางก็จะมีโมเด็มทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงในรูปแบบแอนะล็อก (Analog) ซึ่งรับมาจากโทรศัพท์ให้กลับมาเป็นข้อมูลแบบดิจิทัล (Digital) เพื่อใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า การ Demodulate
โมเด็มมาตรฐานในปัจจุบัน จะมีความเร็วในการสื่อสารข้อมูล ที่ 56 kbps คือ ใน 1 วินาที สามารถดึงข้อมูลได้ 56,000 bit หรือประมาณ 7 kbyte ต่อวินาที เนื่องจากสายโทรศัพท์ส่วนใหญ่จะสามารถส่งข้อมูลได้ ไม่เกิน 56 kbps ดังนั้น ถ้าเราเลือกโมเด็มที่มีความเร็วมากกว่านี้ ก็ไม่สามารถทำให้การส่งข้อมูลเร็วขึ้นได้เพราะต้องสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์ โมเด็มจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะของการใช้งาน คือ
1. โมเด็มแบบภายใน (Internal) มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบเข้ากับสล็อตแบบ PCI ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
ข้อดี
1. ไม่เปลื้องเนื้อที่เพราะติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ไม่ต้องเสียบไฟฟ้า
3. มีราคาถูก
ข้อเสีย
1. การติดตั้งยาก เพราะต้องเปิดเครื่องเพื่อที่จะเสียบการ์ดในสล็อต PCI ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ไม่สามารถมองเห็นการทำงานของโมเด็ม
3. เคลื่อนย้ายไปใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ยาก
4. ต้องการเครื่องที่มีความเร็วสูง
5. พบปัญหาต่างๆ ได้บ่อย เช่น สายหลุดง่าย
2. โมเด็มแบบภายนอก (External) จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์โดยจะต่อเข้าที่ Serial Port และ USB Port ของคอมพิวเตอร์
ข้อดี
1. ติดตั้งง่าย
2. สามารถมองเห็นการทำงานของโมเด็มได้
3. สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าได้
4. ไม่ค่อยมีปัญหาในการใช้งาน
5. สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย
ข้อเสีย
1. เปลืองเนื้อที่ในการวางโมเด็ม
2. มีราคาแพง
3. ต้องมีแหล่งจ่ายไฟและต่อสายไฟ
4. ต้องใช้ Serial Port หรือ USB Port ในการต่อกับโมเด็ม ทำให้เปลือง Port ที่มีไว้สำหรับนำไปต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ
3. โมเด็มแบบ PCMCIA เป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็กและบางที่สุด ซึ่งมีขนาดเท่ากับบัตรเครดิต โมเด็มแบบ PCMCIA จะถือเป็นโมเด็มแบบภายใน ซึ่งได้ออกแบบมาสำหรับการใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค (Notebook Computer) เท่านั้น โดนที่เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คจะมีช่องสล็อตไว้เสียบโมเด็ม PCMCIA ได้ทันที โมเด็มแบบนี้จะใช้กระแสไฟฟ้าจากเครื่องคอมพิวเตอร์
โปรแกรมสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต
เมื่อมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้ว ก็ต้องมีโปรแกรมหรือ ซอฟต์แวร์ สำหรับใช้ในการปฏิบัติงานอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่ง ที่เขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ดังนั้น โปรแกรมต่างๆ เหล่านี้ ก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสามารถให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ สำหรับโปรแกรมที่มีความสำคัญในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย 5 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ เป็นโปรแกรมที่จำเป็นมากสำหรับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกชนิด เพราะจะเป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรต่างๆ ในระบบ เช่นหน่วยความจำ การบันทึกข้อมูล และอุปกรณ์ต่อเชื่อมอื่นๆ เช่น เครื่องพิมพ์ โมเด็ม และจอภาพ โปรแกรมระบบปฏิบัติการยังทำให้ผู้ใช้สามารถปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้น ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ใดไม่มีโปรแกรมระบบปฏิบัติการ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็จะไม่สามารถปฏิบัติงานได้ และโปรแกรมระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ Microsoft Windows เช่น Windows 95/98 Windows Me Windows NT/2000 และ Windows XP เป็นต้น
2. โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ คือ โปรแกรมที่ใช้ในการเปิดเว็บเพจต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตซึ่งโปรแกรมนี้จะมีความสามารถมากมายที่จะเป็นประโยชน์ในการท่องเว็บ และโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ยังเปรียบเสมือนตัวแปลภาษา เพราะเว็บเพจเหล่านั้นจะใช้รูปรูปแบบคำสั่งภาษา HTML ซึ่งโปรแกรมเว็บเบาร์วเซอร์จะแปลคำสั่งต่างๆ มาแสดงผลทางจอภาพ
โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์มีหลายชนิด เช่น Netscape Communicator, Internet Explorer, Opera เป็นต้น แต่ที่รู้จักดีเป็นที่นิยมใช้งานมากที่สุดคือ Internet Explorer เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ใช้ระบบปฏิบัติการของ Windows
3. โปรแกรมรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลจดหมายโดยสร้างโฟลเดอร์สำหรับเก็บจดหมายไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา และโปรแกรมจะทำการดึงจดหมายของเราจากเครื่อง Mail Server มาไว้ในโฟลเดอร์ที่ได้สร้างไว้ เพื่อเราจะสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ตลอดเวลาแม้ในขณะที่ไม่ได้ทำการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โปรแกรมรับส่งจดหมายที่นิยม ได้แก่ Microsoft Outlook, Microsoft Outlook Express ฯลฯ
4. โปรแกรมสำหรับการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับดารสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยกัน ทั้งในรูปแบบของการพิมพ์ข้อความโต้ตอบ ที่เรียกว่าการ Chat รูปแบบของเสียงโดยการสนทนาผ่านไมโครโฟน และในปัจจุบันได้มีโปรแกรมสำหรับการสื่อสารโดยสามารถมองเห็นภาพ และพูดคุยด้วยเสียงระหว่างคู่สนทนาได้ เป็นการสื่อสารแบบทางไกล เช่น โปรแกรม MSN Messenger, Microsoft Chat, Microsoft NetMeeting, ICQ, Pirch, Yahoo Messenger ฯลฯ
5. โปรแกรมมัลติมีเดียบนอินเทอร์เน็ต การใช้งานบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนการทำงานในรูปแบบมัลติมีเดียของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะต้องติดตั้งโปรแกรมประเภทนี้ไว้ ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถรับข้อมูลประเภทมัลติมีเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมมัลติมีเดียที่ได้รับความนิยมสำหรับการใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ โปรแกรม Real Audio, Windows Media Player, Real Video ฯลฯ
วิธีการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเกตเวย์ (Gateway) หรือ IP Router สายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อ
ผ่านInternet Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการ
เชื่อมโยง
รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเกตเวย์ (Gateway) หรือ IP Router สายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อ
ผ่านInternet Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการ
เชื่อมโยง
รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)
1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่อ
อินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับ
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน
(Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้
บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเตอร์เน็ตได้
1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่อ
อินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับ
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน
(Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้
บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเตอร์เน็ตได้
องค์ประกอบของการใช้อินเตอร์เน็ตรายบุคคล
1. โทรศัพท์
2. เครื่องคอมพิวเตอร์
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
4. โมเด็ม (Modem)
2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ(Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต1. โทรศัพท์
2. เครื่องคอมพิวเตอร์
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
4. โมเด็ม (Modem)
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)
3. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
2. GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย
บลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี
4. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ค(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm)
ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
3. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
2. GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย
บลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี
4. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ค(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm)
ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
1. บริการอินเตอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)
เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN
1. บริการอินเตอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)
เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ ISDN
1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล
2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps
3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
5. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้
องค์ประกอบของการต่ออินเตอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN
เหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )
2. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง โดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวีความเร็ว ของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps
และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง โดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวีความเร็ว ของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps
และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม
1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial )
2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิล
3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ ADSL
3. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)
ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูง
นี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbps
และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย ADSL
1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net
4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet)
เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download)ด้วยความเร็วสูงในระดับเมกะบิตต่อวินาทีแต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยดาวเทียม
1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก
2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
4. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม
การเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP)
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(ISP) เป็นบริษัทที่ให้บริการเพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และมักจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม วิธีธรรมดาที่สุดในการเชื่อมต่อกับ ISP ทำได้โดยการใช้สายโทรศัพท์ (การเรียกผ่านสายโทรศัพท์) หรือการเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ (สายเคเบิล หรือ DSL) ISP หลายๆ แห่งจะมีบริการเพิ่มเติม อาทิเช่น บัญชีอีเมล เว็บเบราว์เซอร์ และเนื้อที่สำหรับการสร้างเว็บไซต์ของคุณ
ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตมากมายที่เราสามารถเลือกการบริการๆได้ ทำให้เกิดผลดีต่อผู้บริโภคในการที่จะพิจารณาเลือกใช้บริการกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยมีวิธีการหลักที่ควรคำนึงถึง ดังต่อไปนี้
1.ความน่าเชื่อถือ การสมัครเป็นสมาชิกเพื่อขอใช้บริการจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตนั้นเปรียบเสมือนการซื้อบริการในสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ ดังนั้น ควรจะพิจารณาว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบริษัทนั้นมีความน่าเชื่อถือในการให้บริการมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะสามารถหาข้อมูลได้โดยการสอบถามจากผู้เคยใช้บริการโดยตรง หรือบุคคลที่อยู่ใน Newsgroups Online
2. ประสิทธิภาพของระบบ โดยพิจารณาจากความเร็วในการรับส่งข้อมูล การเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์หลุดบ่อยหรือไม่ เพราะถ้าขณะใช้งานอินเทอร์เน็ตแล้วสายโทรศัพท์หลุดบ่อยนั้นจะทำให้เราต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อเข้าไปใหม่ทุกครั้ง หรือในขณะที่เรากำลังทำการโอนย้ายข้อมูล และเกิดสายโทรศัพท์หลุดก็จะทำให้เราต้องเสียเวลาในการทำการโอนย้ายข้อมูลใหม่และควรพิจารณาถึงความเร็วในการเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ และการเชื่อมต่อกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตภายในประเทศด้วย โดยเราสามารถสอบถามข้อมูลโดยตรงจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตถึงระดับความเร็วในการให้บริการ เพื่อนำมาใช้พิจารณาเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตให้เหมาะสมกับการใช้งานต่อไป
3. หมายเลขโทรศัพท์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะมีช่องทางการให้บริการด้วยโมเด็ม ดังนั้นจำนวนผู้ใช้บริการจะต้องสัมพันธ์กับหมายเลขโทรศัพท์ที่ได้จัดหาไว้ เพราะถ้าหากจำนวนผู้ใช้บริการมาก แต่หมายเลขโทรศัพท์ที่ให้บริการมีน้อย จำทำให้การเชื่อมต่อเพื่อขอใช้บริการอินเทอร์เน็ตทำได้ยากเพราะจะปรากฏว่าสายไม่ว่าง ทำให้ต้องเสียเวลาในการต่อโทรศัพท์หลายครั้ง
4. อัตราการใช้โมเด็ม ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมีคู่สายโมเด็มเพียงพอต่อการรองรับการใช้บริการของลูกค้า โดยอัตราส่วนของลูกค้าต่อโมเด็มที่มีประสิทธิภาพนั้น จะอยู่ที่อัตราส่วน 4:1 หมายถึง โมเด็ม 1 ตัว ต่อสมาชิก 4 ราย
ถ้าอัตราส่วนของผู้ใช้มีจำนวนมากต่อโมเด็ม 1 ตัว ก็จะมีผลทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้นช้าลงตามอัตราส่วนของผู้ใช้
5. ค่าบริการ ให้บริการอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนี้ จะมีทั้งระบบการซื้อชั่วโมงมาใช้งาน เช่น 10, 20, 25, 30, 50, 100 ชั่วโมง เป็นต้น โดยสามารถเลือกซื้อตามปริมาณการใช้งานของเราได้ ซึ่งอายุการใช้งาน 1 ปี ต่อการติดตั้งชั่วโมงการใช้งาน 1 Packet หรือการเหมาจ่ายเป็นรายเดือน ซึ่งผู้ใช้บริการควรจะพิจารณาจากปริมาณการใช้งานของตนเอง เพื่อให้คุ้มค่าต่อปริมาณค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไป เช่น ๆถ้าเลือกหารเหมาจ่ายเป็นรายเดือน แต่ใน 1 สัปดาห์อาจจะใช้อินเทอร์เน็ตเพียง 1 หรือ 2 วัน โดยไม่ได้ใช้อย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้เราเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าปริมาณการใช้งานจริง
6. บริการให้คำปรึกษา บางครั้งการใช้อินเทอร์เน็ต ผู้ใช้บริการอาจเจอปัญหาต่างๆ เช่น ไม่สามารถเชื่อมต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือลืมรหัสผ่านในการ Login เข้าไปยังระบบ ตลอดจนสอบถามปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะการใช้งานอินเทอร์เน็ต ดังนั้นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตควรจะมีบริการให้คำปรึกษาโดยผ่านทางศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ หรือ โดยให้ผู้ใช้เข้าไปสอบถามที่เว็บไซต์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ นอกจากนี้ยังต้องสามารถให้ผู้ใช้บริการตรวจสอบข้อมูลการใช้งานของตนเองได้อีกด้วย ซึ่งข้อนี้ก็เป็นหลักสำคัญประการหนึ่งที่ผู้ใช้บริการควรนำไปพิจารณาเลือกการใช้งานจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
7. ค่าธรรมเนียมต่างๆ พิจารณาว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแต่ละแห่ง นอกเหนือจากอัตราบริการแล้วมีการคิดค่าธรรมเนียมอื่นๆ อีกหรือไม่
8. บริการเสริม นอกจากการให้บริการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้มีบริการเสริมอื่นๆ ให้ใช้บริการอีกหรือไม่ เช่น มีพื้นที่ว่างสำหรับการสร้าง Homepage และมี E-mail Address ให้ด้วยหรือไม่
การติดตั้งโปรแกรมเชื่อมต่อแบบ Dial-up Connection
เมื่อได้เตรียมอุปกรณ์สำหรับการใช้งาน และเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้งานได้แล้วก็ต้องทำการติดตั้งโปรแกรมเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตในรูปแบบการซื้อชั่วโมงสำหรับการใช้งานภายในบ้าน โดยใช้โทรศัพท์พื้นฐานในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นแบบ Dial-up
ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมเชื่อมต่อแบบ Dial-up Connection บนระบบปฏิบัติการ Windows Xp
1. คลิกที่ Start → settings → Control Panel
2. เลือก Network and Internet Connections
3. เลือก Create a connection to the network at your workplace
4. ปรากฏหน้าจอ New Connection Wizard/Network Connection ให้คลิกเลือกที่ Dial-up connection→Net
5. ปรากฏหน้าจอ New Connection Wizard/Connection Name ให้พิมพ์ชื่อของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เช่น KSC และให้คลิกที่ Net
6.ปรากฏหน้าจอ New Connection Wizard/Phone Number to Dial ให้พิม์พหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เช่น 044240400 และให้คลิกที่ Net
7.ในขั้นตอนสุดท้าย ให้เลือกที่ Add a shortcut to this connection to my desktop เพื่อสร้าง shortcut สำหรับการเชื่อต่ออินเทอร์เน็ตไว้ที่ หน้าจอ Desktop แล้วคลิกที่ Finish เมื่อได้ติดตั้งโปรแกรมสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในการใช้งานครั้งต่อไป เพียงแค่ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอนของการเชื่อต่อบนหน้าจอ Desktop เพื่อกระทำการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตต่อไป
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
1.ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอนของการเชื่อมต่อบนหน้าจอ Desktop
หรือ คลิกที่ Start → settings → Network Connections
2.ปรากฏหน้าจอ Connect....
ให้พิมพ์ Username และ Password ซึ่งทั้งสองส่วนนี้จะได้มาใน Paclet ที่เราซื้อชั่วโมงการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งในครั้งต่อไปถ้าเราไม่ต้องการพิมพ์ Username และ Password อีกก็สามารถกำหนดให้โปรแกรม Password ไว้ให้ โดยคลิกเลือกที่ Save this user name and password for the following users:
โดยในช่อง Dial จะปรากฏหมายเลขโทรศัพท์ได้กำหนดไว้ตั้งแต่การติดตั้งโปรแกรมเพื่อใช้งานแล้วให้คลิกที่ Dial เพื่อทำการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ต่อไป
3.เมื่อทำการเชื่อมต่อเข้ากับระบบของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว จะปรากฏที่ด้านล่างของหน้าจอ Desktop เพื่อแสดงสถานะของการเชื่อต่ออินเทอร์เน็ตและถ้าเมื่อต้องการที่จะเข้าไปใช้งานอินเทอร์เน็ตก็สามารถดับเบิ้ลคลิกที่โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ได้ทันที
การยกเลิกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
เมื่อต้องการยกเลิกการเชื่อต่ออินเทอร์เน็ต ให้คลิกขวาที่ซึ่งอยู่ด้านล่างของหน้าจอ Desktop จะปรากฏหน้าต่าง เพื่อให้เลือก Disconnect หรือถ้าต้องการให้แสดงสถานะของการเชื่อต่อ ให้เลือก Status โดยจะแสดงสถานะระยะเวลา และความเร็วในการเชื่อมต่อ
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2
1. ลักษณะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้นสามารถทำได้กี่วิธี
ก.1
ข.2
ค.3
ง.4
ก.1
ข.2
ค.3
ง.4
2. ข้อใดไม่ใช่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ก. Lan (Local Area Network)
ข. Can (City Area Network)
ค. Wan (wide Area Network)
ง.Man (Metropolitan Area Network)
ข. Can (City Area Network)
ค. Wan (wide Area Network)
ง.Man (Metropolitan Area Network)
3. ข้อใดคือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ในเมืองไทย ก. Cs-Internet
ข. Samart Internet
ค. I-net
ง. ถูกทุกข้อ
ข. Samart Internet
ค. I-net
ง. ถูกทุกข้อ
4. ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายนั้น หากต้องการเชื่อมต่อในระยะที่ใกล้ ๆ เช่นภายในอาคารเดียวกัน ควรเชื่อมต่อแบบใด
ก. Lan (Local Area Network)
ข. Can (City Area Network)
ค. Wan (wide Area Network)
ง. Man (Metropolitan Area Network)
ก. Lan (Local Area Network)
ข. Can (City Area Network)
ค. Wan (wide Area Network)
ง. Man (Metropolitan Area Network)
5. เมื่อติดตั้งโปรแกรม Internet Explorer เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ ก. ลองเปิดโปรแกรม Internet Explorer
ข. ทำการ รีสตาร์ท เครื่องใหม่
ค. ติดตั้งโมเด็ม
ง. ถูกทุกข้อ
ข. ทำการ รีสตาร์ท เครื่องใหม่
ค. ติดตั้งโมเด็ม
ง. ถูกทุกข้อ
6. Dial Up Networking คือ ข้อใด ก. การติดตั้งโปรแกรม Internet Explorer
ข. การติดตั้ง โมเด็ม
ค. ระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต
ง. เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย Internet
ข. การติดตั้ง โมเด็ม
ค. ระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต
ง. เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย Internet
7. วิธีการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตนั้นมีวิธีการอย่างไร ก.ดับเบิลคลิกที่ไอคอน My Computer > Dial Up Networking
ข. ดับเบิลคลิกที่ Make a new Connection
ค. ดับเบิลคลิกที่ ไอคอน Internet Explorer ซึ่งจะทำการเชื่อมต่อให้กับผู้ให้บริการ อัตโนมัติ
ง. เฉพาะข้อ ก, ข
ค. ดับเบิลคลิกที่ ไอคอน Internet Explorer ซึ่งจะทำการเชื่อมต่อให้กับผู้ให้บริการ อัตโนมัติ
ง. เฉพาะข้อ ก, ข
8. โมเด็มที่ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเรียกว่า
ก. ternal Modem
ข. ternal Modem
ค. lt - In Modem
ง. Hub
ก. ternal Modem
ข. ternal Modem
ค. lt - In Modem
ง. Hub
9. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อโดยตรง ก. Gate Way
ข. การ์ด InterNIC
ค. สายสัญญาณความเร็วสูง
ง. โทรศัพท์
ข. การ์ด InterNIC
ค. สายสัญญาณความเร็วสูง
ง. โทรศัพท์
10. ในการเชื่อมต่อโดยตรงนั้น จะเชื่อมต่อกับสายหลักของอินเทอร์เน็ต ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ก. Modem
ข. Lease line
ค. Gate Way
ง. InterNic
เฉลย 1.ข 2.ข 3.ง 4.ก 5.ข 6.ง. 7.ง. 8.ก 9.ง 10.ค
ข. Lease line
ค. Gate Way
ง. InterNic
เฉลย 1.ข 2.ข 3.ง 4.ก 5.ข 6.ง. 7.ง. 8.ก 9.ง 10.ค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น